ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้หรือไม่? รสชาติของเหล้าญี่ปุ่นเปลี่ยนไปตามภาชนะที่ใส่  (อ่าน 5236 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Busba1122

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 77
    • ดูรายละเอียด


นิฮนชุ (日本酒) หรือ เหล้าญี่ปุ่น เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำท้องถิ่นของญี่ปุ่น หมักโดยใช้ข้าว น้ำ และมีหัวเชื้อข้าวโคจิ (ข้าวมอลต์) เป็นส่วนผสมหลัก หมักออกมาจนได้รสชาติเฉพาะตัว ซึ่งรสชาตินั้นนอกจากจะขึ้นอยู่กับปริมาณและสัดส่วนของวัตถุดิบที่ใช้แล้ว ยังขึ้นอยู่กับภาชนะที่ใส่อีกด้วย แม้จะเป็นเหล้าชนิดเดียวกัน แต่หากเปลี่ยนภาชนะที่ใส่ “รสชาติ” รวมถึง “บรรยากาศ” กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะอะไรภาชนะถึงมีผลต่อรสชาติ?
ภาชนะที่ใช้ดื่มเหล้าญี่ปุ่นนั้นมีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ขวด แก้วทรงต่างๆ บ้างก็เป็นเซรามิค บ้างก็ทำมาจากแก้ว ซึ่งภาชนะเหล่านั้น มี 3 หลักสำคัญที่ส่งผลต่อรสชาติของเหล้าญี่ปุ่น ได้แก่ ปริมาณความจุ วัสดุ และรูปร่าง แต่ละอย่างจะมีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นอย่างไร ไปดูกันเลย
1. ความจุของภาชนะ
โดยธรรมชาติแล้ว รสชาติเหล้าญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไปเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปจากเดิม 5 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมินั้น สัมพันธ์กับขนาดความจุของภาชนะที่ใส่ จึงทำให้ผลต่อรสชาติ ยิ่งภาชนะที่มีความจุมาก ก็จะใช้เวลาในการดื่มนานขึ้น ทำให้อุณหภูมิของเหล้าเปลี่ยนตามไปด้วย ทำให้รสชาติของเหล้าตอนที่นำออกมาจากตู้เย็นใหม่ๆ ต่างจากที่ดื่มช่วงท้ายๆ ภาชนะจึงมีผลต่อรสชาติโดยตรง ดังนั้นหากชอบดื่มเหล้าเย็นๆ แนะนำให้ใช้ภาชนะเล็กๆ แต่ถ้าอยากเพลิดเพลินกับการเปลี่ยนแปลงของรสชาติ ก็อาจจะใช้ภาชนะที่ความจุมากขึ้น
2. วัสดุที่ใช้ทำภาชนะ
วัสดุที่นิยมนำมาทำเป็นภาชนะสำหรับดื่มเหล้าญี่ปุ่นมีหลากหลายชนิด เช่น เซรามิค แก้ว กระเบื้อง เครื่องเคลือบ ไม้ ไม้ไผ่ ดีบุก เป็นต้น ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดนั้นมีผลทำให้บรรยากาศและอารมณ์ความรู้สึกในการดื่มเปลี่ยนไปอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น ภาชนะที่เป็นเซรามิค จะให้ความรู้สึกหนักๆ เหมาะแก่การดื่มเหล้าอุ่นๆ แต่ถ้าเป็นภาชนะที่เป็นแก้ว จะให้บรรยากาศที่ดูสดชื่น สนุกสนาน ส่วนภาชนะที่เป็นดีบุกนั้นเหมาะกับเหล้าเย็นๆ


อ่านเพิ่มเติม  >>>  เล่นเกมได้เงิน